วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

หอยเชลล์ จากวิกิพีเดีย ( สารานุกรมเสรี )

หอยเชลล์ หรือ หอยพัด (อังกฤษ: Scallop)



         เป็นสัตว์มอลลัสกาฝาคู่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในวงศ์ Pectinidae หอยเชลล์พบได้ทุกมหาสมุทรของโลก หอยเชลล์จำนวนมากเป็นแหล่งอาหารราคาสูง ทั้งเปลือกสีสว่าง รูปพัดของหอยเชลล์บางตัว พร้อมกับแบบร่องเว้าแผ่ออกจากศูนย์กลาง ทำให้มีค่าสำหรับนักสะสมหอยชื่อ "scallop" แผลงมาจากภาษาฝรั่งเศสโบราณ escalope หมายถึง "เปลือก"



         หอยเชลล์มีกล้ามเนื้อปิดฝาอยู่ตรงกลาง ดังนั้นข้างในเปลือกของหอยมีแผลเป็นกลางอันเป็นลักษณะเฉพาะ เป็นจุดยึดสำหรับกล้ามเนื้อนี้[1] กล้ามเนื้อปิดฝาของหอยเชลล์ใหญ่กว่าและพัฒนากว่ากล้ามเนื้อปิดฝาของหอยนางรม เพราะพวกมันเป็นนักว่ายน้ำที่กระตือรือร้น
            ชาวประมงและนักวิทยาศาสตร์บางคนบอกว่า หอยเชลล์เป็นสัตว์อพยพ แต่มีหลักฐานสนับสนุนน้อยอยู่[2] เปลือกของมันค่อนข้างมีลักษณะสม่ำเสมอ ซึ่งทำให้นึกถึงหอยทะเลต้นแบบ และเพราะรูปทรงเรขาคณิตที่น่าพอใจนี้เอง ทำให้เปลือกหอยเชลล์เป็นของประดับตกแต่งทั่วไป
             หอยเชลล์มีตาธรรมดามากถึง 100 ดวง ร้อยอยู่รอบขอบแมนเทิลของมันเหมือนกับร้อยลูกปัด ดวงตาเหล่านี้มีจำนวนไม่คงที่ เพราะธรรมดาสำหรับหอยประเภทนี้ที่จะงอกตาใหม่เพิ่ม ทั้งยังงอกใหม่เวลาบาดเจ็บได้ด้วย[3] หากมันสูญเสียดวงตาทั้งหมด มันจะกลับมาเหมือนเดิมภายในสองเดือน[3] ดวงตาเหล่านี้เป็นดวงตาสะท้อนแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราวหนึ่งมิลลิเมตร โดยมีเรตินาซึ่งมีความซับซ้อนกว่าเรตินาของหอยฝาคู่แบบอื่น


                ตาของมันประกอบด้วยเรตินาสองประเภท ประเภทหนึ่งตอบสนองต่อแสง และอีกประเภทหนึ่งขับความมืดออกไป อย่างเช่น เงาของผู้ล่าที่อยู่ใกล้ ๆ ดวงตาเหล่านี้ไม่สามารถแยกแยะรูปทรงได้ แต่รับรู้การเปลี่ยนแปลงลักษณะของแสงและการเคลื่อนไหวได้[4][5]
                ดวงตาสะท้อนแสงนี้แทนเลนส์ที่ข้างในตาเรียงรายไปด้วยกระจกซึ่งสะท้อนภาพไปโฟกัสที่จุดกึ่งกลาง[6] ธรรมชาติของดวงตาเหล่านี้หมายความว่า หากดวงหนึ่งจ้องเข้าไปในรูม่านตาของดวงตา ดวงตานั้นจะเห็นภาพเดียวกับที่สิ่งมีชีวิตนั้นเห็น โดยสะท้อนกลับออกมา[6] หอยเชลล์จีนัส Pecten มีดวงตาสะท้อนแสงขนาดถึง 100 มิลลิเมตร อยู่ตรงขอบเปลือก ซึ่งสามารถตรวจจับวัตถุเคลื่อนไหวขณะที่เคลื่อนผ่านเลนส์ต่อเนื่องกัน[6]



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น